วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

แนวคิดในการบริหารสถานศึกษาด้วยการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา






ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ การผลิต ต่อยอด ถ่ายทอด บูรณาการและใช้ความรู้เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างสังคมที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด การเรียนรู้และการศึกษาเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาคน การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตามแนวของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 สนับสนุนการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาเพื่อมวลชน และสนับสนุนการปลดปล่อยศักยภาพของเด็กไทย (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, 2545, หน้า 47)
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ถึงการกำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา (http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/eduact/)
เทคโนโลยีไอซีทีกับการศึกษา (E-learning) คือ นวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิมมาเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ดาวเทียม Computer-based training และระบบไร้สาย โดยทั่วไปการเรียนแบบ E-learning จะมีความยืดหยุ่นค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้เรียนสามารถเข้าเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ตเวลาใดก็ได้ และจะมี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน มีผู้กล่าวว่า การเรียนแบบ E-learning นั้น เรียกได้ว่า เป็นห้องเรียนเสมือนจริง (The virtual classroom) และการประยุกต์ใช้ไอซีทีกับการศึกษา (Application ) คือ การนำโปรแกรมพื้นฐานของคอมพิวเตอร์มาสร้างเป็นเทคนิคในการใช้กับการจัดการจัดการเรียนการสอน คือ ครูสามารถสร้างสรรค์บทเรียนเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบเครือข่าย และการนำเสนอหลักสูตรบนระบบอินเทอร์เน็ต (Curriculum online) เป็นการแนะนำเรื่องของหลักสูตรในโรงเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ทราบว่าปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนได้มีการสร้างแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ( http://pirun.ku.ac.th/~g5086026/report1g1.doc )
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education) มีความหมายครอบคลุมการพัฒนาและประยุกต์สารสนเทศ (information) แลความรู้ (knowledge) ที่สนับสนุน การเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงและรับบริการการศึกษาและการเรียนรู้และรองรับการพัฒนาสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนของการลงทุน การผลิตเนื้อหาทางการศึกษาที่มีคุณภาพ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีความหลากหลายและพิจารณาผล การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, 2545, หน้า 47) เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมาก ทำให้ภาครัฐได้ทำการปฏิรูปการศึกษาและกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย ได้กำหนดให้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-EDUCATION) เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา (1)พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ (2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (3) สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ (4) เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา (Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม (5) ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ (information) และความรู้ (knowledge) (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, 2545, หน้า 26)
ในขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการก็ได้จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการโดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานสากล ได้กำหนดพันธกิจและยุทธศาสตร์เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ และสถานศึกษาภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้นำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น (ดร.พรรณี สวนเพลง และ ผศ.ดร. จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ, 2552, หน้า 38) การมุ่งพัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารงานภาครัฐ (Black office) สู่การเป็นสำนักงานอัตโนมัติ (e-Office) เป็นกลยุทธ์ที่จะพัฒนาและประสานการใช้ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนดทั้ง 10 ระบบงาน ประกอบด้วย ระบบแผนงาน/โครงการ ระบบงบประมาณการเงินบัญชี ระบบทรัพยากรมนุษย์ ระบบงานพัสดุ ระบบงานนิติกร ระบบงานประชาสัมพันธ์ ระบบงานนิเทศสัมพันธ์ ระบบงานสารบรรณ ระบบงานตรวจสอบภายใน ระบบงานผู้ตรวจราชการ (ร่างแผนแม่บท ICT2550-2554, 2550, หน้า 5)
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้าไปสู่การจัดการระบบสาระสนเทศเพื่อ การตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) มากขึ้น เนื่องจากในการดำเนินงานในองค์กรจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศเป็นจำนวนมาก ถ้าการจัดการกับข้อมูลสารสนเทศไม่ดีพอ องค์กรจะเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลและการค้นห้าข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ MIS เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้รวดเร็วตามต้องการ ถ้าองค์กรมีการจัดเตรียมสารสนเทศที่ดี ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน นอกจากนี้สารสนเทศก็จะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดสินใจ ช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจได้ถูกต้องและมีความเสี่ยงน้อยลง โดยมีคณะกรรมการเพื่อสร้างกระบวนการตัดสินใจประกอบด้วยผู้บริหารที่รับผิดชอบทางด้านสารเสนเทศโดยเฉพาะ คือ CEO CIO COO และCKO (ดร.พรรณี สวนเพลง และ ผศ.ดร.จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ, 2552, หน้า 52, 61, 44)
นอกจากการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยีแล้ว การเปลี่ยนเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ตลอดจน การเปลี่ยนแปลงของสังคมเครือข่ายในโลกออนไลน์ กำลังขยับฐานการสร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณสกุณี ได้อธิบายถึงแนวคิดด้านวัฒนธรรมเสรี และแนวคิดในการแบ่งปันการใช้ทรัพย์สินในโลกออนไลน์ในรูปแบบของ สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของเจ้าของ หรือ Creative Common ของ Lawrence Lessig ในขณะเดียวกันได้อธิบายถึงมารยาทพื้นฐานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งแปล เรียบเรียง และดัดแปลงจากหนังสือ มารยาทเน็ต (Netiquette) โดย เวอร์จิเนีย เชีย กฎสิบข้อ (1) อย่าลืมว่ากำลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนจริงๆ (2) การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง (3) รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ (4) เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ (5) ทำให้ตัวเองดูดีเวลาออนไลน์ (6) แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ (7) ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์ (8) เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น (9) อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์ (10)ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น นอกจากนี้ อาจารย์ อิทธิพล ปรีติประสงค์ ยังได้กล่าวถึงแนวคิดของระบบการดูแล จัดการทรัพย์สินทางปัญญาในโลกออนไลน์ผ่านระบบ Creative Common ไว้ว่า ในโลกวัฒนธรรมเสรี (Free Culture) บนโลกออนไลน์ การคัดลอกเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ออนไลน์ในเครือข่ายอื่น หรือ ชุมชนออนไลน์ อื่น (Copy and Paste) กลายเป็นเรื่องปกติสามัญ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การกระทำดังกล่าวอาจจะเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ อาจารย์ชวลิต ได้ให้ความเห็นเบื้องต้นว่า ในกฎหมายเองก็มีความเคลือบคลุมถึงกรณีที่เจ้าของสิทธิ์ไม่ได้ห้ามนั้นเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายว่า “ยินยอม” ให้ผู้อื่นใช้ คัดลอก ดัดแปลง ตกแต่งงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นได้ ดังนั้น Lawrence Lessig นักกฎหมายและอาจารย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้คิดค้น สัญญาอนุญาตให้ใช้งานอันมีสิทธิ หรือ Creative Common เรียกโดยย่อว่า CC และยังได้กล่าวถึงรูปแบบสัญญาของ Creative Commons มี 11 แบบ เกิดจากการผสมกันของคุณสมบัติ 4 แบบ ดังต่อไปนี้ครับ (1) Attribution คือ อนุญาตให้นำผลงานไปใช้ได้ ถ้าอ้างอิงที่มา (2) Noncommercial คือ ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงการค้า (3) No Derivative Works คือ ต้องนำผลงานไปใช้ตรง ๆ ทั้งชิ้น ห้ามไม่ให้ดัดแปลง หรือตัดบางส่วน และ (4) Share Alike คือ หลังจากนำไปใช้แล้วผลงานนั้นต้องมีสัญญาแบบเดียวกันกับผลงานเดิมด้วย (http://gotoknow.org/blog/virtualcommunitymanagement/261836)
จะเห็นได้ว่า ภายใต้ความไม่ชัดเจนของการตีความทางกฎหมาย รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ต้องจำนนต่อความไร้ขอบเขตทางดินแดนของรัฐที่จะไปบังคับโทษต่อผู้กระทำความผิด ตลอดจน การต้องยอมพ่ายแพ้ต่อการบังคับโทษและลงโทษผู้กระทำความผิดจำนวนมหาศาลในโลกออนไลน์ ยิ่งไปกว่านั้น การพิสูจน์ยืนยันผู้กระทำความผิด ล้วนเป็นปัญหาเรื่องแนวคิดทางกฎหมายในยุคก่อนระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประกอบกับ ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้กติกาใน การดูแลกันเองของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาได้ถือกำเนิดขึ้นภายใต้แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมเสรี การแบ่งปัน โดยมีการคุ้มครองเจ้าของสิทธิ ผลจากแนวคิดและวิธีการดังกล่าว ทำให้ต้องกลับมานั่งวิเคราะห์เชิงลึกถึงความสำเร็จของเรื่อง นอกจาก (1) แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมเสรี และ การแบ่งปัน ภายใต้การคุ้มครองเข้าของสิทธิที่ “ชัดเจน” แล้ว ยังพบว่า (2) กติกาภาคเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับการคิดค้นนั้น ได้รับการ “ยอมรับ” ในฐานะแนวปฏิบัติที่ดี ประกอบกับ (3) ความเชื่อ” ร่วมกันของเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ (4) ระบบปฏิบัติการทางเทคนิค ทำให้การจัดการปัญหานั้นเป็นไปได้จริงและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดช่องโหว่ทางกฎหมายที่มีอยู่ (http://gotoknow.org/blog/virtualcommunitymanagement/261836)
จากปัญหาดังกล่าว จึงได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 พระราชบัญญัติ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิดเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พร้อมทั้งปฏิบัติเพื่อให้เป็นต้นแบบและเป็นผู้มีจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามบทบัญญัติ 10 ประการ ของ รศ.ยืน ภู่วรรณ พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การกระตุ้นให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปเกิดจิตสำนึกและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยการจัดฝึกอบรมและให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำแผนที่สิทธิบัตร การให้บริการ คำปรึกษา แนะนำและการยื่นจดทะเบียน ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น เพื่อทำให้สังคมอินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่น่าใช้และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
***********************************
บรรณานุกรม
เลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. สำนักงาน. กรอบนโยบายเทคโนโลยี
สารสนเทศ ระยะ พ.ศ.2544-2553 ของประเทศไทย. (2545). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ :
ธนาเพรส แอนด์กราฟฟิกส์ จำกัด.
ศึกษาธิการ. กระทรวง.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน. 2552,
จาก http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/eduact/
ดร.พรรณี สวนเพลง และ ผศ.ดร.จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ. 2552.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพ. ราชภัฎสวนดุสิต.
อินเตอร์เน็ต : (http://gotoknow.org/blog/virtualcommunitymanagement/261836)
( http://pirun.ku.ac.th/~g5086026/report1g1.doc )
(http://www.google.co.th/)

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำคม-น่าคิด





ผม


นก..ชื่อที่ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการครับ

วรรณไชย..ชื่อที่ถูกเรียกอย่างเป็นทางการครับ

ทองรอด..นามสกุลครับ

อังคาร 22 มกราคม ..วันที่ผมเกิดครับ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง..สถาบันที่ผมจบการศึกษาปริญญาตรีครับ

นิติศาสตร์บัณฑิต..วุฒิการศึกษาครับ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม..สถาบันที่กำลังศึกษาต่อครับ

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด..สถานที่ทำงานครับ

นิติกร..ตำแหน่งที่ดำรงอยู่ครับ

จังหวัดสงขลา..บ้านเกิดผมครับ

"สิ่งที่ขาดไม่ได้..NOO.ครับ"